Bangkok Offstage cover logo

S4E5: Zero Covid = Zero Theatre?

1h 50m · Bangkok Offstage · 28 Jul 08:00

China’s zero-Covid policy and its effects on the population in the country’s major cities have been drawing global media attention for months, especially since most countries have already eased their travel and lockdown restrictions. So on July 16, we sat down with three performing arts professionals from China to find out what it’s like to live under the zero-Covid policy and what it means for the performing arts people in their country. We have on the panel Beijing-based theatre producer Zhang “Jennifer” Cui, Beijing-based choreographer Wang Mengfan, and Shanghai-based curator-producer Zhang Yuan. They give us a glimpse into how China’s Covid strategy has impacted the mind, the spirit, and the body and share with us their concerns and hopes for the future of theatre in their cities.

.

หลังจากที่จีนออกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ หรือ Zero-COVID policy ชีวิตของผู้คนในเมืองใหญ่ก็ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก และเป็นกระแสข่าวไปทั่วโลกเป็นเวลาหลายเดือน เพราะปัจจุบันหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการด้านการท่องเที่ยวและการล็อกดาวน์แล้ว และในวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกับคนในวงการศิลปะการแสดง 3 คนจากจีน ได้แก่ “จาง ซุ่ย” หรือ เจนนิเฟอร์ โปรดิวเซอร์ละครจากปักกิ่ง /“หวัง เม่งฟาน” นักออกแบบท่าเต้นจากปักกิ่ง และ “จาง หยวน” โปรดิวเซอร์และภัณฑารักษ์จากเซี่ยงไฮ้

ทั้งสามได้เล่าให้เราฟังถึงการใช้ชีวิตภายใต้นโยบายโควิดเป็นศูนย์และผลกระทบที่มีต่อผู้คนในแวดวงศิลปะการแสดง รวมถึงผลกระทบของนโยบายนี้ต่อจิตใจ จิตวิญญาณ และร่างกายของผู้คน นอกจากนั้น ยังเล่าถึงสิ่งที่กังวลและความหวังต่ออนาคตของวงการละครในเมืองต่างๆ

.

This episode is in English. / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ . ติดตาม / Follow www.bangkokoffstage.com

.

*Portrait of Zhang “Jennifer” Cui by Zhu Chaohui

The episode S4E5: Zero Covid = Zero Theatre? from the podcast Bangkok Offstage has a duration of 1:50:19. It was first published 28 Jul 08:00. The cover art and the content belong to their respective owners.

More episodes from Bangkok Offstage

Special Episode: A Lifetime of Theatre: Rassami Paoluengtong

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เอพิโสดพิเศษของ Bangkok Offstage ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดงและพอดแคสต์ของเรา ในเอพิโสดนี้เราได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ รัศมี เผ่าเหลืองทอง ผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศแด่ผู้มีคุณูปการแก่ละครเวทีและนาฏศิลปิ์ร่วมสมัย ของทางชมรมฯในปีนี้ อาจารย์รัศมีเป็นสมาชิกคณะละครสองแปด ซึ่งเธอก่อตั้งขึ้นมา ในปีพ.ศ. 2528 ร่วมกับบรรดาเพื่อนร่วมงานจากวงการวรรณกรรม อาจารย์รัศมีเล่าว่า ในตอนนั้นละครเวทีส่วนใหญ่หาดูได้แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย นอกจากความต้องการของคณะสองแปดที่จะทำละครที่แตกต่างออกไปจากละครมหาวิทยาลัยแล้ว อีกหนึ่งจุดประสงค์หลักของคณะคือการเผยแพร่บทละครที่มีชื่อเสียงในระดับสากลสู่คนในวงกว้าง ก่อนก่อตั้งคณะละครสองแปด อาจารย์รัศมีได้ไปศึกษาปริญญาโทด้าน dramaturgy และ dramatic criticism ที่ Yale School of Drama ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้อาจารย์หลงรักละครกรีกและละครเยอรมัน ละครเรื่องแรกของคณะสองแปดนั้นก็คือละครเรื่อง “กาลิเลโอ” โดยนักเขียนชาวเยอรมัน แบร์ทอล์ท เบรคชท์ โดยมีอาจารย์รัศมีเป็น dramaturg คอยเป็นที่ปรึกษาด้านการตีความบทของทั้งผู้กำกับและนักแสดง นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น dramaturg คนแรกของประเทศ อาจารย์รัศมียังเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิจารณ์วรรณกรรม ผู้กำกับ นักแปล และนักเขียนบทอีกด้วย ล่าสุดเธอได้เปิด GalileOasis ในย่านราชเทีวี ที่เป็นทั้งแกลเลอรี่ โรงละคร และโรงแรม ในเอพิโสดนี้ อาจารย์รัศมีได้มาพูดคุยกับเราเรื่องความรักและความหลงใหลของเธอที่มีต่อวรรณกรรมระดับโลก การต่อสู้ด้านพื้นที่ทางศิลปะ และความสำคัญของการอ่านบทละคร เอพิโสดนี้ เราได้รับเกียรติจากอาจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์ ประธานชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง มาเป็นพิธีกรรับเชิญของเรา สามารถติดตามงานมอบรางวัลละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยประจำปี 2563–2565 ได้ทาง Facebook เพจ ของ IATC Thailand ในวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม เวลา 20.00 น.

.

Welcome to a special episode of Bangkok Offstage. In this collaboration with the International Association of Theatre Critics — Thailand Centre, we speak to Rassami Paoluengtong, the recipient of this year’s IATC Thailand Lifetime Achievement Award. Rassami’s name is synonymous with Theatre Twenty-Eight, a company she co-founded in 1985 with colleagues from her years as a literary critic. According to Rassami, theatre at that time mostly took place on university campuses. But with Theatre Twenty-Eight, she wanted not only to go beyond what university productions could do, but also to bring great plays from different parts of the world to a wider audience in Thailand. Before founding the company, she spent three years pursuing a master’s degree in dramaturgy and dramatic criticism at Yale School of Drama, where she became enamored with Greek and German plays. Theatre Twenty-Eight’s inaugural production was Bertolt Brecht’s “Galileo,” for which Rassami took on the role of a dramaturg. Rassami is considered to be Thailand’s first dramaturg and is also known for her work as a stage director, screenwriter, and literary translator. Last year, she opened GalileOasis, an art gallery, theatre, and hotel located in the heart of Bangkok. In this interview, conducted by our special guest host, Pawit Mahasarinand, the President of IATC Thailand, Rassami talks about her love of literature, the perennial battle for art spaces, and why it’s important to read plays. The IATC Thailand Dance and Theatre Awards will be streamed live on IATC Thailand Facebook page on Tuesday, May 2 at 8 PM.

.

Intro: Bilingual

เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย / This episode is in Thai

. ติดตาม / Follow www.bangkokoffstage.com

.

#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast

S4E10: It’s a Wrap!

เอพิโสดสุดท้ายของซีซั่นที่ 4 นี้มีชื่อว่า “It’s a Wrap!” เพราะเราจะมาส่งท้ายปีกันด้วยการสรุปวงการละครเวทีในปี 2565 กับสามนักวิจารณ์ ครูป้อม - ปวิตร มหาสารินันทน์ ‘กัลปพฤกษ์’ และต่อ - คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง . นอกจากนั้น “It’s a wrap!” ยังหมายถึงการส่งท้ายของพอดแคสต์ Bangkok Offstage โดยหลังจากนี้ยังสามารถฟังเอพิโสดย้อนหลังได้ตามช่องทางเดิม และเราอาจจะกลับมาจัดพอดแคสต์เฉพาะกิจในอนาคตตามจังหวะที่เหมาะสม เราขอขอบคุณแขกรับเชิญของเราทุกคนที่สละเวลามาร่วมพูดคุยกับเรา รวมถึงผู้ฟังทุกคนที่สนับสนุนเรามาตลอด 4 ซีซั่น . It’s a wrap! First, we’re wrapping up the theatre scene in 2022 with three critics Pawit Mahasarinand, Kalapapreuk, and Kanchat Rangseekansong. . It’s also a wrap for Bangkok Offstage as a monthly podcast. All episodes will still be available for free. And we may return once in a while in the future. We would like to thank all the guests who have so generously shared with us their thoughts and their stories. And of course, thank you to all our listeners for your support over the last four years. . Intro: Bilingual เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย / This episode is in Thai. . ติดตาม / Follow www.bangkokoffstage.com

S4E9: An Invitation to Dine

In Episode 9 of Season 4, Bangkok Offstage is taking you beyond the borders of Southeast Asia once again. This time, we talk to Sri Vamsi Matta, a theatre artist from India, about his ongoing performance “Come Eat with Me,” which has been attracting a lot of media attention in India since it began early this year. “Come Eat with Me” takes place in people’s homes, where Vamsi initiates and encourages conversation and reflection on caste discrimination through live performance, cooking, and the act of eating together. In this episode, Vamsi tells us what it means to be a Dalit, why he chooses to explore the subject of caste through food, and why deliciousness matters regardless of whom we feed.

.

ในเอพิโสด 9 ของซีซั่น 4 Bangkok Offstage จะพาผู้ฟังเดินทางออกไปนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง โดยครั้งนี้เราได้ไปพูดคุยกับ ศรี วามสี มัททา ศิลปินละครเวทีชาวอินเดีย เกี่ยวกับการแสดงของเขาที่มีชื่อว่า “Come Eat with Me” ("มากินข้าวกับฉันสิ") ซึ่งได้มีการกล่าวถึงมากมายในสื่อของอินเดียตั้งแต่เริ่มจัดแสดงมาเมื่อต้นปีนี้ “Come Eat with Me” เป็นการแสดงที่เข้าไปในบ้านของคนดูเพื่อกระตุ้นบทสนทนาเรื่องการแบ่งแยกวรรณะในศาสนาฮินดูผ่านการแสดงสด การทำอาหาร และการทานอาหารร่วมกัน ในเอพิโสดนี้ วามสีเล่าให้ฟังถึงการเป็นคนชนชั้นดาลิตว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมเขาถึงเลือกที่จะสำรวจเรื่องชนชั้นวรรณะผ่านอาหาร และทำไมความอร่อยเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะทำอาหารให้ใครทาน

.

Intro: Bilingual

This episode is in English / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ . ติดตาม / Follow

.

*Photos of "Come Eat with Me" by Apeksha Vora

S4E8: Art & Possibilities with Muslim Artists

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เทศกาลละครกรุงเทพจะกลับมาอีกครั้ง พร้อมฉลองครบรอบ 20 ปี โดยมีการแสดงมากมายให้ได้เลือกชมกัน หนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง “ในท่วงทำนอง ~ อนาชีด” ละครสารคดีที่สามศิลปินชาวมุสลิมได้ร่วมทำงานกับเยาวชนจากคณะนาชีดจากมัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน) เราจึงชวน ฟารีดา จิราพันธุ์, คอลิด มิดำ และนัสรี ละบายดีมัญ มาพูดคุยเกี่ยวกับละครเรื่องนี้ที่จะทำให้ผู้ชมได้รู้จักศิลปะการขับร้องบทลำนำของชาวมุสลิมมากขึ้น รวมถึงการทำละครในชุมชนมุสลิม และการเป็นศิลปินมุสลิมในวงการศิลปะการแสดงไทย

.

The annual Bangkok Theatre Festiva (BTF) returns once again in November. This year, it celebrates its 20th anniversary with its usual variety of performances. And the one we’re particularly interested in is “Anasheed’s Melodies,” a documentary theatre piece that’s a collaboration between three Muslim theatre artists and the youth singers from the Nasheed group of the Masjid Jamiulislam Klongton [Jamiah al-Islam Mosque (Khlong Tan)]. We talk to Farida Jiraphan, Khalid Midam, and Nasrey Labaideeman about nasheed music, making theatre in Muslim communities, and what it’s like to be Muslim artists in the Thai performing arts scene.

.

Intro: Bilingual

เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย / This episode is in Thai. . ติดตาม / Follow www.bangkokoffstage.com

S4E7: For the Love of Theatre

In Episode 7 of Season 4, we talk to three members of one of the most enduring theatre groups in Thailand, Bangkok Community Theatre (BCT). Bonnie Zellerbach, Danny Wall, and Ric Hizon tell us what drew them to community theatre, how they managed to stay connected and very active throughout the pandemic, and what’s next for this 50-year-old English-speaking community theatre.

.

ในเอพิโสด 7 ของซีซั่น 4 เราได้ไปพูดคุยกับสามสมาชิกของกลุ่มละครที่อยู่คู่กรุงเทพมายาวนานถึง 50 ปี Bangkok Community Theatre (BCT) ซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ บอนนี่ เซลเลอร์แบค แดนนี่ วอลล์ และ ริค ฮีซอน เล่าให้เราฟังถึงสิ่งที่ดึงดูดเขามาทำละครแบบ community theatre สิ่งที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกช่วงวิกฤตโควิด และอนาคตของ BCT

.

Intro: Bilingual

This episode is in English. / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ

. ติดตาม / Follow www.bangkokoffstage.com

Every Podcast » Bangkok Offstage » S4E5: Zero Covid = Zero Theatre?